วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎี Posdcorb

กระบวนการบริหารประกอบด้วย ขั้นตอนที่สำคัญ 7 ขั้นตอนได้แก่
การวางแผน ( Planning )
การจัดองค์การ ( Organization )
การจัดกำลังคน ( Staffing )
การอำนวยการ ( Directing )
การประสานงาน ( Coolrdinating )
การรายงาน ( Reporting )
การงบประมาณ ( Budgeting )
การประยุกต์ใช้ ทฤษฎี Posdcorb
•ผู้บริหารจะต้องมีการกำหนดโครงสร้างและบทบาทของบุคคลให้เหมาะสมกับหน้าที่และตำแหน่ง
•ในการเป็นผู้บริหารที่ดีต้องมีการวางแผนและจัดระบบขั้นตอนเพื่อให้รู้ทิศทางในการดำเนินงานและเพื่อให้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
•การควบคุมดูแลเป็นหน้าที่หลักของผู้บริหาร ที่จะต้องมีกระบวนการที่สามารถป้องกันความล้มเหลวในการทำงานของพนักงานและองค์กรได้
คำคม ทฤษฎี Posdcorb
•การบริหาร คือการทำงานขององค์กรให้สำเร็จโดยอาศัยผู้อื้นช่วยทำ.........
ผู้บริหารโรงเรียน คือหัวจักร
ครู คือโบกี้
นักเรียน คือผู้โดยสาร

โรงเรียน 3 D

ที่มาของโครงการโรงเรียน 3D
นายจุรินทร์ ลักษณวิศษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชี้แจงการปฏิรูปการศึกษารอบสอง เน้นให้เด็กไทยเป็น คนเก่ง ดี มีสุข และภูมิใจในความเป็นไทย ที่วิทยาลัยชุมชนพังงา เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2552 พร้อมแนะแนวปฏิบัติตามนโยบาย 3D
เรื่องดี เป็นนโยบายชัดเจนที่ผมได้ประกาศในเรื่อง 3D เราต้องการสร้างเด็กที่จบการศึกษาทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา อาชีวะ หรือการศึกษานอกโรงเรียน เด็กที่จบออกมาอย่างต้องมี 3D ดีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ดีไทย และ D อังกฤษ ด้วย
คำว่า "ดี" ภาษาไทย ก็ คือ 1. เราต้องการให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย 2. คือต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีผิดชอบ ชั่วดี เด็กที่จบออกมา ถ้ารู้ผิดชอบ ชั่วดี มีหิริโอตตัปปะ ผมคิดว่าครบถ้วนทุกอย่าง จะรู้อะไรควรทำไม่ควรทำ ทุจริตเป็นอย่างไร 3. ต้องห่างไกลยาเสพติด อันนี้ คือ โครงการสามดี ภาษาไทย
ส่วน D ภาษาอังกฤษ คือ 1. Democracy คือ ประชาธิปไตย 2. Decency คือ คุณธรรม จริยธรรม รู้ผิดชอบ ชั่วดี 3. Drug คือ ยาเสพติด
ในเรื่องประชาธิปไตยสิ่งที่ต้องการเห็นก็คือ ประการแรก เด็กที่จบการศึกษามาทุกคนจะต้องเชื่อมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและต้องรังเกียจการซื้อสิทธิ์ขายเสียง "อันนี้ไม่ได้ทำเพื่อนักเรียนการเมือง แต่เพราะโรคร้ายของระบบประชาธิปไตย คือการซื้อสิทธิ์ขายเสียง นำมาซึ่งการทุจริตคอรัปชั่นของการถอนทุนคืน เพราะลงทุนซื้อเสียงไปเยอะในที่สุดก็สร้างปัญหาให้ระบบอประชาธิปไตย และเป็นปัญหาบ้านเมืองแตกแยกกัน จนถึงทุกวันนี้ ต้นเหตุหนึ่งก็คือการทุจริต" เพราะฉะนั้นตรงนี้่จึงเป็นที่มาของความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เราต้องปลูกจิตสำนึกให้เด็กรังเกีจยต่อการซื้อสิทธิ์ขายเสียงขณะนี้ทำคู่มือซื้อสิทธิ์ ขายเสียง หมายความว่า ทุกโรงเรียนทุกระดับต้องมีการเรียนการสอนและจัดกิจกรรม
ส่วนเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ก็ต้องมีการจัดโครงการกิจกรรม มีตัวชี้วัดชัดเจนต่อไปเด็กมีความดีงามเพิ่มขึ้นวัดด้วยอะไร ตอนนี้มอบหมายไปแล้ว จะมีการประชุมเรื่องนี้อีกรอบทุกโรงเรียน ทุกสถาบันการศึกษาต้องมีการจัดกิจกรรมในเรื่องนี้
ในเรื่องสิ่งเสพติด อันนี้ทุกโรงเรียนทุกสถานศึกษาต้องถือเป็นพื้นที่ที่สำคัญอันหนึ่งจะต้องดำเนินการทั้งมาตรการป้องกัน ป้องปราม ปราบปราม ถ้าพบว่าเด็กนักเรียน นักศึกษา เป็นผู้ค้าเสียงเอง แต่ถ้าติดก็ต้องนำไปบำบัดรักษา ซึ่งอันนี้ต้องสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล 5 รั้ว ป้องกัน ค้อ รั้วสังคม รั้วครอบครัว รั้วชุมชน รั้วโรงเรียน และรั้วชายแดน

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วิธีการเรียนคณิตศาสตร์ให้เข้าใจ

การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ถือเป็นวิชาที่ไม่ค่อยมีคนชอบเรียนสักเท่าไหร่แต่ถ้าหากจำใจต้องเรียนก็ควรที่จะรู้จักสนุกไปกับมัน การเรียนคณิตศาสตร์ให้เข้าใจเราควรฟังครูสอนแล้วนำคำอธิบายที่ครูอธิบายให้ฟังมาสรุปและบันทึกลงสมุดโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสูตรหรือบทนิยามทฤษฎีบทเราควรจดและทำความเข้าใจเป็นอย่างมากและบางเรื่องที่เราไม่เข้าใจเราควรถามครูหรือเพื่อนที่เข้าใจแค่นี้ก้ออาจช่วยทำให้เราเรียนคณิตศาสตร์แล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้นลองเอาไปทำดูนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การจัดรูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบ CIPPA


หลักของโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) เป็นรูปแบบการเรียนการสอนซึ่งสามารถประยุกต์ใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีขั้นตอนสำคัญดังนี้
1. ขั้นทบทวนความรู้เดิม ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้ของผู้เรียนในเรื่องที่เรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน
2. ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูล ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่มีจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ ซี่งครูอาจเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
3. ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนเผชิญปัญหา และทำความเข้าใจกับข้อมูล ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง เช่นใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปผลความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงความรู้เดิม มีการตรวจสอบความเข้าใจต่อตนเองหรือกลุ่ม โดยครูใช้สื่อและย้ำมโนมติในการเรียนรู้
4. ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือ ในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตนเอง รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนเองแก่ผู้อื่นและได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆกัน
5. ขั้นการสรุปและจัดระเบียบความรู้ ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อช่วยให้จดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
6. ขั้นการแสดงผลงาน ขั้นนี้เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้แสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนตอกย้ำ หรือตรวจสอบ เพื่อช่วยให้จดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
7. ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ ขั้นนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ ความเข้าใจของตนเองไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหา
สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนตาม CIPPA Model สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ส่วนการมีส่วนร่วมทางด้านอารมณ์นั้น ความจริงแล้วมีเกิดขึ้นควบคู่ไปกับทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ซึ่งหากครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ตามหลักดังกล่าวแล้ว การจัด การเรียนการสอนของครูก็จะมีลักษณะที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
วิธีการที่จะจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ CIPPA Model สามารถทำได้โดยครูอาจเริ่มต้นจากแผนการสอนที่มีอยู่แล้ว และนำแผนดังกล่าวมาพิจารณาตาม CIPPA Model หากกิจกรรมตามแผนการสอนขาดลักษณะใดไป ก็พยายามคิดหากิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มลักษณะดังกล่าวลงไป หากแผนเดิมมีอยู่บ้างแล้ว ก็ควรพยายามเพิ่มให้มากขึ้น เพื่อกิจกรรมจะได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อทำเช่นนี้ได้จนเริ่มชำนาญแล้ว ต่อไปครูก็จะสามารถวางแผนตาม CIPPA Model ได้ไม่ยากนัก